วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอนคณิตศาสตร์ป.6เรื่องค่าประมาณเต็มหมื่น เต็มแสน

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนนับและการบวก การลบ การคูณ การหาร เวลา 16 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน เวลา 4 ชั่วโมง สอนวันที่.............เดือน............................................พ.ศ...............ภาคเรียนที่..........ปีการศึกษา............... ................................................................................................................................................................... สาระสำคัญ 1. การนำจำนวนไปใช้ บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ แทนได้ 2. การหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เต็มหมื่น...ของจำนวนใดทำได้โดยพิจารณาตัวเลขในหลักถัดไปทางขวามือของจำนวนนั้น จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อกำหนดจำนวนนับให้ สามารถหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ ได้ 2. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. นักเรียนให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม สาระการเรียนรู้ การหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ทบทวนค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ โดยให้แต่ละกลุ่มจับบัตรตัวเลข แล้วนำมาเขียนให้อยู่ในค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน บนกระดาน 2. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบ 3. นำแผ่นพับโฆษณาสินค้าเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า การขายบ้าน ขายรถยนต์ แจกให้แต่ละกลุ่มร่วมกันหาค่าประมาณเป็นเป็นจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ แล้วส่งตัวแทนออกมาเขียนแสดงค่าไว้บนกระดานดำ 4. นักเรียนศึกษาความรู้จากหนังสือเรียนหน้า 10 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน เมื่อนักเรียนอ่านแล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันเขียนผังความคิดแสดงการหาค่าประมาณเป็นจำนวน เต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน ในใบกิจกรรม พร้อมกับส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้น 5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปการหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เต็มหมื่น...ของจำนวนใดทำได้โดยพิจารณาตัวเลขในหลักถัดไปทางขวามือของจำนวนนั้น 6.ติดแถบจำนวนเต็มที่มีหลายหลัก 5 จำนวน บนกระดาน แล้วให้นักเรียนหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหมื่นลงในสมุด โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ 7.ติดแถบจำนวนเต็มที่มีหลายหลัก 5 จำนวน บนกระดาน แล้วให้นักเรียนหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มแสนลงในสมุด โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ 8.ติดแถบจำนวนเต็มที่มีหลายหลัก 5 จำนวน บนกระดาน แล้วให้นักเรียนหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มล้านลงในสมุด โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ 9. นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน้า 6 – 9 ชิ้นงานของนักเรียน 1. แบบฝึกหัดเรื่องการหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน 2. ใบกิจกรรม การบูรณาการเรียนรู้ 1. ภาษาไทย การอ่าน การเขียน 2. สังคมศึกษา การทำงานกลุ่มโดยยึดหลักประชาธิปไตย สื่อการเรียนการสอน / แหล่งเรียนรู้ 1. บัตรตัวเลข 2. แผ่นพับโฆษณาสินค้า 3. ใบกิจกรรม 4.แถบจำนวนเต็ม 5. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้น ป.6 กระบวนการวัดผลประเมินผล วิธีการวัด : 1. การสังเกตขณะร่วมกิจกรรม 2. การซักถามขณะร่วมกิจกรรม 3. การตรวจงาน ใบกิจกรรม แบบฝึกหัด เครื่องมือวัด : 1. แบบประเมินการสังเกต การซักถาม การตรวจงาน 2. แบบประเมินการร่วมกิจกรรมกลุ่ม เกณฑ์ : 1. การสังเกต การซักถาม ต้องผ่าน 3 ข้อใน 4 ข้อ ผ่านเกณฑ์ 2. การตรวจงาน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 3. การร่วมกิจกรรมกลุ่ม ต้องได้ระดับ 2 ขึ้นไป ทุกรายการผ่านเกณฑ์ กิจกรรมเสนอแนะ / กิจกรรมต่อเนื่อง .....................................................................................

แผนการสอนคณิตศาสตร์ชั้น ป.6เรื่องค่าประมาณเต็มสิบ เต็มร้อย

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนนับและการบวก การลบ การคูณ การหาร เวลา 16 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ทบทวนการหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เวลา 1 ชั่วโมง สอนวันที่...เดือน........................พ.ศ.....ภาคเรียนที่..........ปีการศึกษา........ ................................................................................... สาระสำคัญ การนำจำนวนไปใช้ บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ แทนได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อกำหนดจำนวนนับให้ สามารถหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ ได้ 2. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความละเอียดรอบคอบได้ สาระการเรียนรู้ ทบทวนการหาค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 (เวลา 10 นาที) 2. แบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 3 - 4 คน โดยใช้การจับบัตรสี ใครได้สีเหมือนกันอยู่กลุ่มเดียวกัน ให้แต่ละกลุ่มแต่งตั้งประธาน และเลขากลุ่ม 3. สนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของการหาค่าประมาณที่มีใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ความสูงของเพื่อนในห้อง ความกว้างความยาวของห้องเรียน 4. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเขียนน้ำหนักและส่วนสูงของตนเองลงบนกระดานดำ โดยส่งมากลุ่มละ 1 คน 5. ครูและนักเรียนร่วมกันหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เช่น - ส่วนสูง 127 เซนติเมตร ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อย คือ 100 - น้ำหนัก 36 กิโลกรัม ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ คือ 40 6. ร่วมกันกำหนดจำนวนนับ 1 จำนวน แล้วช่วยกันนำมาเขียนค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เช่น - ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ คือ 2,510 - ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อย คือ 2,500 - ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มพัน คือ 3,000 7. แจกใบกิจกรรมซึ่งกำหนดให้แต่ละกลุ่มตัดรูปสินค้าจากแผ่นพับโฆษณาสินค้ามาติดใน ใบกิจกรรม กลุ่มละ 1 รูป แล้วนำมาเขียนค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน พร้อมกับส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้น 8. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนการหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ พิจารณาจากเลขถัดไป ถ้าต่ำกว่า 5 ให้ประมาณเป็นจำนวนที่มีค่าน้อยกว่าค่านั้น ถ้าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปให้ประมาณเป็นจำนวนที่มีค่ามากกว่านั้น 9. นักเรียนพิจารณาตัวอย่างในหนังสือเรียนหน้า 2 พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดหน้า 3 ชิ้นงานของนักเรียน 1. แบบฝึกหัดเรื่องทบทวนการหาค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน 2. ใบกิจกรรม การบูรณาการเรียนรู้ สังคมศึกษา การทำงานกลุ่มโดยยึดหลักประชาธิปไตย สื่อการเรียนการสอน / แหล่งเรียนรู้ 1. สิ่งของในห้องเรียน 2. ใบกิจกรรม 3. แผ่นพับโฆษณาสินค้า 4. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้น ป.6 กระบวนการวัดผลประเมินผล วิธีการวัด : 1. การสังเกตขณะร่วมกิจกรรม 2. การซักถามขณะร่วมกิจกรรม 3. การตรวจงาน ใบกิจกรรม แบบฝึกหัด เครื่องมือวัด : 1.แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 2. แบบประเมินการสังเกต การซักถาม การตรวจงาน 3. แบบประเมินการร่วมกิจกรรมกลุ่ม เกณฑ์ : 1. การสังเกต การซักถาม ต้องผ่าน 3 ข้อใน 4 ข้อ ผ่านเกณฑ์ 2. การตรวจงาน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 3. การร่วมกิจกรรมกลุ่ม ต้องได้ระดับ 2 ขึ้นไป ทุกรายการผ่านเกณฑ์ กิจกรรมเสนอแนะ / กิจกรรมต่อเนื่อง .....................................................................................

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนของฉัน

โรงเรียนของฉันชื่อโรงเรียนบ้านหนองสรวง ที่ตั้ง ต.หนองสรวง อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทำไมหิ่งห้อยต้องอยู่ใต้ต้นลำภู

เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมใครๆถึงพากันคิด ว่า หิ่งห้อยมักจะอยู่ใต้ต้น ลำภู เท่านั้น เอ๊ะ ! หรือว่าจริงๆแล้ว หิ่งห้อยก็อยู่ในทุกๆที่เพียงแต่เราไม่เคยสังเกตุมันเท่านั้นเอง จริงๆแล้วคำตอบของมันก็เพราะ

หิ่งห้อยคืออะไร

หิ่งห้อย มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Firefly หิ่งห้อย แมลงปีกแข็งที่สามารถเรืองแสงได้ในเวลากลางคืน มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำที่สะอาดตามต้นไม้ริมน้ำ เช่น ต้นกกและต้นลำพู

เพราะอะไรหิ่งห้อยจึงกะพริบ

เมื่อ หิ่งห้อยหนุ่มพบหิ่งห้อยสาวที่หมายปอง มันก็จะกระพริบแสงเป็นจังหวะของมัน ถ้าหิ่งห้อยสาวพอใจก็จะกระพริบตอบด้วยจังหวะเดียวกัน จากนั้นทั้งสองก็ผสมพันธ์ เมื่อหิ่งห้อยสาวตั้งท้องและวางไข่มันก็จะตายจากไปแสงของหิ่งห้อยเกิดจากสาร เรืองแสงในตัวของมัน ซึ่งเปล่งออกมาบริเวณปลายปล้องท้อง และในอดีตคนเรายังใช้แสงหิ่งห้อยเป็นเครื่องนำทางสร้างความสวยงามให้กับ ธรรมชาติในยามค่ำคืน

หิ่งห้อยทำไมถึงอยู่ต้นลำพู
หิ่งห้อย ไม่ได้อยู่เพียงแต่ต้นลำพู เพียงเพราะว่า หิ่งห้อยตัวเต็มวัยไม่กินอาหารเพียงแต่กินน้ำหรือน้ำค้างที่เกาะอยู่ตาม ใบไม้ ต้นลำพูเป็นพืชที่มีขนที่ใบจึงทำให้น้ำค้างเกาะอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นอาหารของหิ่งห้อยอย่างดี

เรืองแสงสีสวยงดงามที่บริเวณส่วนก้นของมันได้อย่างไร ... จริงไหม
หิ่งห้อย ไทยชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือตามพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้หนองน้ำ หรือลำธารที่มีน้ำใสสะอาด โดยเฉพาะป่าชายเลนที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ เพราะลูกหิ่งห้อยเป็นหนอนตัวน่าเกลียดในน้ำ จับสัตว์น้ำอื่นกิน

ประเทศอื่นๆที่มีหิ่งห้อย ในยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกา และอาฟริกา คงจะไม่มีต้นลำพูเหมือนบ้านเรา แต่อาจจะมีต้นโกงกางบ้าง..ต้นไม้ขึ้นใกล้น้ำ-ชนิดอื่นๆ-บ้าง

เคยเห็นหิ่งห้อยเป็นพันๆตัวในเวลากลางคืนที่ริมพรมแดนไทย-พม่าด้านที่ไม่ติดกับแม่น้ำด้วยซ้ำไป

เพียงแต่มีคลองน้ำใสเล็กๆไหลผ่าน..และอาจจะมีสระเลี้ยงปลาที่สะอาดจากน้ำธรรมชาติ

และแถวนั้นไม่มีต้นลำพูและโกงกาง แน่นอน(เพราะน้ำจืดสนิท-ไม่ใช่น้ำกร่อย)

จึงยืนยันได้ว่า..ต้นลำพูและหิ่งห้อย..เป็นความบังเอิญหรือความจำเป็นของชาวประชาหิ่งห้อยแถวอำพวาเท่านั้น

ธรรมชาติของหิ่งห้อย ในเวลากลางวันหิ่งห้อยจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามพงหญ้าหรือวัชพืช หรือหลบตามกาบไม้ซอกไม้ต่างๆ

ที่สำคัญ บริเวณนั้นต้องไม่มีมลพิษจากสิ่งแวดล้อมมากมายนัก
จึงเป็นตัวชี้อันหนึ่งว่า..ถ้ามีหิ่งห้อย สภาพแวดล้อมก็ยังดีอยู่..

แต่คงไม่ใช่เอาเรื่องนี้ เพียงเรื่องเดียวมาเป็นเครื่องวัดระบบนิเวศน์ เพราะ จริงๆแล้ววัฏจักรของหิ่งห้อยมีมากกว่านั้นมากมายนัก

จาก http://variety.teenee.com/foodforbrain/30045.html