วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอนคณิตศาสตร์ป.6เรื่องค่าประมาณเต็มหมื่น เต็มแสน

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนนับและการบวก การลบ การคูณ การหาร เวลา 16 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน เวลา 4 ชั่วโมง สอนวันที่.............เดือน............................................พ.ศ...............ภาคเรียนที่..........ปีการศึกษา............... ................................................................................................................................................................... สาระสำคัญ 1. การนำจำนวนไปใช้ บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ แทนได้ 2. การหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เต็มหมื่น...ของจำนวนใดทำได้โดยพิจารณาตัวเลขในหลักถัดไปทางขวามือของจำนวนนั้น จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อกำหนดจำนวนนับให้ สามารถหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ ได้ 2. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. นักเรียนให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม สาระการเรียนรู้ การหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ทบทวนค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ โดยให้แต่ละกลุ่มจับบัตรตัวเลข แล้วนำมาเขียนให้อยู่ในค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน บนกระดาน 2. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบ 3. นำแผ่นพับโฆษณาสินค้าเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า การขายบ้าน ขายรถยนต์ แจกให้แต่ละกลุ่มร่วมกันหาค่าประมาณเป็นเป็นจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ แล้วส่งตัวแทนออกมาเขียนแสดงค่าไว้บนกระดานดำ 4. นักเรียนศึกษาความรู้จากหนังสือเรียนหน้า 10 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน เมื่อนักเรียนอ่านแล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันเขียนผังความคิดแสดงการหาค่าประมาณเป็นจำนวน เต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน ในใบกิจกรรม พร้อมกับส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้น 5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปการหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เต็มหมื่น...ของจำนวนใดทำได้โดยพิจารณาตัวเลขในหลักถัดไปทางขวามือของจำนวนนั้น 6.ติดแถบจำนวนเต็มที่มีหลายหลัก 5 จำนวน บนกระดาน แล้วให้นักเรียนหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหมื่นลงในสมุด โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ 7.ติดแถบจำนวนเต็มที่มีหลายหลัก 5 จำนวน บนกระดาน แล้วให้นักเรียนหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มแสนลงในสมุด โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ 8.ติดแถบจำนวนเต็มที่มีหลายหลัก 5 จำนวน บนกระดาน แล้วให้นักเรียนหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มล้านลงในสมุด โดยทำตามขั้นตอนที่ครูอธิบาย เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ 9. นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน้า 6 – 9 ชิ้นงานของนักเรียน 1. แบบฝึกหัดเรื่องการหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน 2. ใบกิจกรรม การบูรณาการเรียนรู้ 1. ภาษาไทย การอ่าน การเขียน 2. สังคมศึกษา การทำงานกลุ่มโดยยึดหลักประชาธิปไตย สื่อการเรียนการสอน / แหล่งเรียนรู้ 1. บัตรตัวเลข 2. แผ่นพับโฆษณาสินค้า 3. ใบกิจกรรม 4.แถบจำนวนเต็ม 5. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้น ป.6 กระบวนการวัดผลประเมินผล วิธีการวัด : 1. การสังเกตขณะร่วมกิจกรรม 2. การซักถามขณะร่วมกิจกรรม 3. การตรวจงาน ใบกิจกรรม แบบฝึกหัด เครื่องมือวัด : 1. แบบประเมินการสังเกต การซักถาม การตรวจงาน 2. แบบประเมินการร่วมกิจกรรมกลุ่ม เกณฑ์ : 1. การสังเกต การซักถาม ต้องผ่าน 3 ข้อใน 4 ข้อ ผ่านเกณฑ์ 2. การตรวจงาน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 3. การร่วมกิจกรรมกลุ่ม ต้องได้ระดับ 2 ขึ้นไป ทุกรายการผ่านเกณฑ์ กิจกรรมเสนอแนะ / กิจกรรมต่อเนื่อง .....................................................................................

แผนการสอนคณิตศาสตร์ชั้น ป.6เรื่องค่าประมาณเต็มสิบ เต็มร้อย

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนนับและการบวก การลบ การคูณ การหาร เวลา 16 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ทบทวนการหาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เวลา 1 ชั่วโมง สอนวันที่...เดือน........................พ.ศ.....ภาคเรียนที่..........ปีการศึกษา........ ................................................................................... สาระสำคัญ การนำจำนวนไปใช้ บางครั้งอาจใช้ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ แทนได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อกำหนดจำนวนนับให้ สามารถหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ ได้ 2. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความละเอียดรอบคอบได้ สาระการเรียนรู้ ทบทวนการหาค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 (เวลา 10 นาที) 2. แบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 3 - 4 คน โดยใช้การจับบัตรสี ใครได้สีเหมือนกันอยู่กลุ่มเดียวกัน ให้แต่ละกลุ่มแต่งตั้งประธาน และเลขากลุ่ม 3. สนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของการหาค่าประมาณที่มีใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ความสูงของเพื่อนในห้อง ความกว้างความยาวของห้องเรียน 4. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเขียนน้ำหนักและส่วนสูงของตนเองลงบนกระดานดำ โดยส่งมากลุ่มละ 1 คน 5. ครูและนักเรียนร่วมกันหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เช่น - ส่วนสูง 127 เซนติเมตร ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อย คือ 100 - น้ำหนัก 36 กิโลกรัม ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ คือ 40 6. ร่วมกันกำหนดจำนวนนับ 1 จำนวน แล้วช่วยกันนำมาเขียนค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เช่น - ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ คือ 2,510 - ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อย คือ 2,500 - ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มพัน คือ 3,000 7. แจกใบกิจกรรมซึ่งกำหนดให้แต่ละกลุ่มตัดรูปสินค้าจากแผ่นพับโฆษณาสินค้ามาติดใน ใบกิจกรรม กลุ่มละ 1 รูป แล้วนำมาเขียนค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน พร้อมกับส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้น 8. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนการหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ พิจารณาจากเลขถัดไป ถ้าต่ำกว่า 5 ให้ประมาณเป็นจำนวนที่มีค่าน้อยกว่าค่านั้น ถ้าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปให้ประมาณเป็นจำนวนที่มีค่ามากกว่านั้น 9. นักเรียนพิจารณาตัวอย่างในหนังสือเรียนหน้า 2 พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดหน้า 3 ชิ้นงานของนักเรียน 1. แบบฝึกหัดเรื่องทบทวนการหาค่าประมาณใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน 2. ใบกิจกรรม การบูรณาการเรียนรู้ สังคมศึกษา การทำงานกลุ่มโดยยึดหลักประชาธิปไตย สื่อการเรียนการสอน / แหล่งเรียนรู้ 1. สิ่งของในห้องเรียน 2. ใบกิจกรรม 3. แผ่นพับโฆษณาสินค้า 4. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้น ป.6 กระบวนการวัดผลประเมินผล วิธีการวัด : 1. การสังเกตขณะร่วมกิจกรรม 2. การซักถามขณะร่วมกิจกรรม 3. การตรวจงาน ใบกิจกรรม แบบฝึกหัด เครื่องมือวัด : 1.แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 2. แบบประเมินการสังเกต การซักถาม การตรวจงาน 3. แบบประเมินการร่วมกิจกรรมกลุ่ม เกณฑ์ : 1. การสังเกต การซักถาม ต้องผ่าน 3 ข้อใน 4 ข้อ ผ่านเกณฑ์ 2. การตรวจงาน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 3. การร่วมกิจกรรมกลุ่ม ต้องได้ระดับ 2 ขึ้นไป ทุกรายการผ่านเกณฑ์ กิจกรรมเสนอแนะ / กิจกรรมต่อเนื่อง .....................................................................................